เข็มทิ่ม


แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรเมื่อได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสเลือดหรือ
สารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์  เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงาน
นโยบาย

          1. บุคลากรทางการพยาบาลทุกคนปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเมื่อได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงาน
          2. หัวหน้าหน่วยบริการพยาบาลที่มีบุคลากรได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงาน ส่งเสริม ควบคุมกำกับ การปฏิบัติตามแนวทางฯอย่างต่อเนื่อง
          3. คณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลทำการประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
          4. หน่วยบริการพยาบาลที่มีบุคลากรได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงาน ส่งเสริม ควบคุมกำกับ การปฏิบัติตามแนวทางฯอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมาย   บุคลากรทางการพยาบาล

คำจำกัดความ
          บุคลากรทางการพยาบาล หมายถึง เจ้าหน้าที่/บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมดที่เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ได้แก่ แพทย์, พยาบาล, ผู้ช่วยพยาบาล, นักศึกษาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชัยภูมิ
 อุบัติเหตุสัมผัสเลือด/สารคัดหลั่ง หมายถึง อุบัติเหตุที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ได้แก่ ของมีคมทิ่ม/ตำ/บาด, สารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา/ปาก/เยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย

ผู้รับผิดชอบ 

หัวหน้าหอผู้ป่วย หัวหน้าเวร  ICWN หน้าที่ มอบหมายแผนการรักษา ให้ความรู้ ควบคุม กำกับ ติดตาม การปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด และทบทวนอุบัติการณ์ กรณีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รายงานข้อมูลการเฝ้าระวังประจำเดือน
 พยาบาลวิชาชีพ   พยาบาลเทคนิค  หน้าที่ รับมอบหมายการปฏิบัติการพยาบาลด้วยวิธีการที่กำหนดตามขั้นตอน แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรเมื่อได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงาน
 พยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (ICN) หน้าที่ ให้ความรู้ ให้ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลและร่วมหาแนวทางในการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อจากการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ได้แก่ ของมีคมทิ่ม/ตำ/บาด, สารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา/ปาก/เยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย

ตัวชี้วัด
<!--[if !supportLists]-->-        <!--[endif]-->ร้อยละ ของบุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากเข็มทิ่มตำและของมีคมบาดและการสัมผัสถูกเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในโรงพยาบาล > ร้อยละ 80
<!--[if !supportLists]-->-        <!--[endif]-->อัตราการได้รับอุบัติจากเข็มทิ่มตำและของมีคมบาดและการสัมผัสถูกเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ของบุคลากร เท่ากับ 0
กิจกรรมดำเนินการ
<!--[if !supportLists]-->1.       <!--[endif]-->จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องวางแผนดำเนินงานตามนโยบายขององค์กร
2.   สืบค้นข้อมูล จัดทำแนวปฏิบัติแนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรเมื่อได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
3.  นำเสนอผู้บริหารกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล เพื่อพิจารณา และประกาศใช้
4. นำสู่การปฏิบัติ โดยการ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติ
5.  ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6.  วิเคราะห์ สรุปผลการประเมินและนำไปใช้เพื่อการพัฒนาต่อไป
7.  มีการทบทวนแนวทางฯ ทุก 2 ปี
แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรเมื่อได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสเลือด
หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงาน

             แนวปฏิบัตินี้พัฒนาจากแนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรในการป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากเข็มทิ่มตำและของมีคมบาดและการสัมผัสถูกเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC, 2007) โดยรายละเอียด มี ดังนี้
1. ก่อนการทำหัตถการที่เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุจากเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาด
             1.1   จัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัยโดยให้แสงสว่างในหน่วยงานควรมีค่าความเข้มของแสงสว่าง 200 ลักซ์ บริเวณที่จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำหัตถการต้องกำหนดเป็นเขตสะอาด และบริเวณที่ทำหัตถการมีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอ

          1.2   หัตถการที่มีการใช้ของมีคมต้องเตรียมอุปกรณ์ให้ครบ และวางไว้บริเวณที่สามารถหยิบจับได้สะดวก       
     1.3  การใช้ของมีคมหลายชนิดในระหว่างทำหัตถการควรจัดวางไว้ในบริเวณที่ผู้ทำหัตถการสามารถเห็นได้ชัด เช่น วางบนถาด 
เป็นต้น
1.4 การจัดบริเวณที่ทิ้งของมีคมต้องจัดให้อยู่ใกล้จุดที่สะดวกในการใช้และสามารถทิ้งของมีคมได้ทันที หากมีการนำของมีคมกลับมาใช้ซ้ำ ให้กำหนดสถานที่รองรับและ เก็บอย่างปลอดภัยหลังจากใช้งานแล้ว
             1.5  ประเมินผู้ป่วยก่อนทำกิจกรรม หากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือหรือผู้ป่วยสับสนให้ขอความร่วมมือจากผู้ร่วมงานหรือญาติผู้ป่วยในการทำให้ผู้ป่วยสงบ หรือผูกมัดหากมีความจำเป็น    
       1.6  ชี้แจงผู้ป่วยและญาติให้ทราบถึงหัตถการที่จะทำและขอความร่วมมือจากผู้ป่วยไม่ให้ดิ้นขณะทำหัตถการ
1.7 สวมถุงมือทุกครั้งที่ทำหัตถการที่มีการใช้เข็มหรือของมีคม เช่น การให้สารน้ำ และ การเจาะเลือดเป็นต้น

    1.8   การใช้ยาชนิดบรรจุหลอด ควรมีการป้องกันการถูกหลอดแก้วบาดมือขณะหักหลอดยา โดยใช้กอซหรือสำลีปราศจากเชื้อรองมือก่อนหักหลอดแก้วบรรจุยา
<!--[if !vml]--> <!--[endif]-->           2.ขณะทำหัตถการที่เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุจากเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาด
             2.1  จัดลำดับการปฏิบัติงาน การใช้เข็มหรือของมีคม เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้ของมีคม และป้องกันอุบัติเหตุอันจะเกิดทั้งแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงาน
             2.2  ขณะปฏิบัติหัตถการที่ใช้เข็มและของมีคม ผู้ปฏิบัติต้องมีสติและไม่ควรละสายตาจากบริเวณตำแหน่งที่ทำหัตถการ
             2.3  ขณะถือเข็มและของมีคมให้ระวังการชน กระทบ กระแทกจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง
             2.4  ไม่ส่งเข็มและ/ หรือ ของมีคมด้วยมือต่อมือโดยตรง ให้วางบนถาดหรือบริเวณที่จัดไว้ เมื่อมีการนำของมีคมกลับคืนไว้บนถาดให้แจ้งเพื่อนร่วมงานทราบก่อนทุกครั้ง
             2.5  หลีกเลี่ยงการสวมปลอกเข็มคืนโดยการใช้มือจับปลอกเข็ม กรณีไม่มีที่ทิ้งเข็มอยู่ใกล้หรือไม่สะดวกทิ้ง อาจจำเป็นต้องสวมปลอกเข็มกลับคืน ต้องสวมโดยใช้เทคนิคมือเดียว
             2.6  หากหัตถการนั้นมีความจำเป็นจะต้องใช้เข็มซ้ำในผู้ป่วยรายเดิม เช่นการฉีดยาชา ให้สวมปลอกเข็มกลับคืนโดยใช้เทคนิคมือเดียว หรือทำให้ปลอกเข็มติดแน่นโดยใช้มือเดียว
การเย็บแผล
                   2.7.1       ไม่จับเข็มด้วยมือโดยตรงให้ใช้คีมจับเข็ม (needle holder) จับทุกครั้ง

2.7.2 ขณะเย็บแผลไม่ใช้นิ้วมือข้างหนึ่งกดแผลไว้แล้วเย็บผ่านระหว่างนิ้วมือควรใช้คีมคีบ (forceps/ sponge forceps) แทนนิ้วมือกด โดยเฉพาะการเย็บแผลที่อยู่ลึกต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
                  2.7.3        ระหว่างที่มีการใช้เข็มเย็บแผล ขณะพักให้ซ่อนปลายเข็มโดยใช้คีมจับเข็มบริเวณใกล้กับปลายเข็มควำไว้
2.8         การใส่ใบมีด ให้ใช้คีมจับใบมีดสวมเข้ากับด้ามมีด
หลังทำหัตถการที่เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุจากเข็มทิ่มตำและของมีคมบาด
             3.1  แยกเครื่องมือที่มีคม ออกจากอุปกรณ์ชนิดอื่น
             3.2  เมื่อทำหัตถการเสร็จสิ้นลง ต้องตรวจนับเครื่องมือ เช่น จำนวนเข็มเย็บ ใบมีด ที่ใช้ให้ครบก่อนนำไปเก็บเพื่อป้องกันอันตรายจากเข็มหรือของมีคมที่ลืมทิ้งไว้
3.3      เครื่องมือที่ใช้แล้วให้ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันการตกหล่นก่อนนำไปทำให้ปราศจากเชื้อ 

4. การทิ้งเข็มและของมีคมลงใน
    4.1  ปลดเข็มฉีดยาหรือใบมีดออกจากด้ามมีด โดยใช้ clamp หรือใช้อุปกรณ์สำหรับปลดเข็ม  


     4.2ทิ้งเข็ม ใบมีดและของมีคมที่ใช้แล้วลงในภาชนะสำหรับทิ้งเข็มและของมีคมที่ป้องกั
       4.3  ห้ามวางหรือหงายส่วนแหลมคมของเข็มขึ้น หรือยื่นออกมานอกภาชนะรองรับ
4.4         ภาชนะที่ทิ้งเข็มหรือของมีคม
                   4.4.1       ภาชนะที่ทิ้งเข็มและของมีคมต้องมีขนาดเหมาะสม กับอุปกรณ์ของมีคม และต้องเป็นภาชนะที่เข็มและของมีคมไม่สามารถแทงทะลุและกั
4.4.2       วางภาชนะรองรับเข็มและของมีคมไว้ในที่ปลอดภัย มองเห็นได้ง่ายและมือเอื้อมถึง ซึ่งผู้ใช้สามารถทิ้งได้ทันที ไม่วางบนพื้น
4.4.3       ไม่บรรจุเข็มหรือของมีคมเกิน 3 ใน 4 ของภาชนะ เมื่อบรรจุถึงระดับที่กำหนดแล้วให้ปิดฝาและปิดผนึกก่อนนำไปทำลาย
             4.5  การทิ้งเข็มและของมีคมไม่ควรให้มือหรือนิ้วเข้าไปในภาชนะ
             4.6  การนำเข็มและของมีคมไปกำจัดต้องมีเส้นทางการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย
             4.7  ตรวจดูภาชนะที่ทิ้งเข็มและของมีคม หากพบว่าล้นให้เปลี่ยนภาชนะใหม่
             4.8  ตรวจดูเข็มหรือของมีคมที่ล้นหรือตกอยู่บริเวณรอบๆภาชนะ หากพบให้ใช้คีมเพื่อนำไปใส่ภาชนะทิ้งเข็มหรือของมีคม      
   
4.9         ปิดผนึกภาชนะที่บรรจุเข็มและของมีคมซึ่งเต็มแล้วนำไปไว้ในบริเวณที่ปลอดภัย
             4.10 หลังปิดภาชนะแล้วห้ามเปิดเพื่อเทเข็มและของมีคมทิ้งแล้วนำกลับไปใช้ซ้ำหรือนำไปจำหน่าย
             4.11 ควบคุมการจัดการมูลฝอยที่เป็นของมีคมอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อประชาชนที่อาจได้รับอุบัติเหตุ และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

แนวทางปฏิบัติหลังจากอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดและสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย  บุคลากรควรปฏิบัติดังนี้
1.  เมื่อถูกเข็มหรือของมีคมที่ใช้กับผู้ป่วยทิ่มแทงหรือบาด หรือเลือด / สารคัดหลั่งของผู้ป่วยเข้าทางผิวหนังที่มีบาดแผล ผิวหนังแตก   ล้างแผลให้สะอาดทันที ด้วยน้ำและสบู่ แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% หากเลือดหรือสารคัดหลั่งหากกระเด็นเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำ หรือน้ำยาล้างตาทันที หากกระเด็นเข้าปากให้บ้วนน้ำลายทิ้งให้เร็วที่สุด แล้วบ้วนปากด้วยน้ำหลาย ๆ ครั้ง
2.   บุคลากรที่ได้รับอุบัติเหตุ  ในเวลาราชการรายงานหัวหน้าตึก หัวหน้ากลุ่มงาน ICNนอกเวลารายงานหัวหน้าเวร เวรตรวจการ และรายงานหัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มงาน ICN ในวันเวลาราชการ    โดยบันทึกรายละเอียดการเกิดอุบัติเหตุในแบบรายงานการได้รับอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน
3.   เจาะเลือดบุคลากรหลังจากได้รับอุบัติเหตุภายใน  72  ชั่วโมง  ตรวจหาAnti-HIV HBV serology  ถ้าผลการตรวจเลือดของบุคลากรเป็นบวกตั้งแต่แรก  แสดงว่าบุคลากรติดเชื้อเอชไอวีก่อนได้รับอุบัติเหตุในกรณีที่ผลเลือดที่เจาะภายใน  72  ชั่วโมง  หลังจากได้รับอุบัติเหตุเป็นลบ  แต่ถ้าการเจาะเลือดครั้งต่อมาผลเป็นบวก  แสดงว่าบุคลากรผู้นั้นได้รับเชื้อจากการได้รับอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน
4. เจาะเลือดผู้ป่วยถ้าไม่มีผล Anti-HIV ,HBsAg โดยขออนุญาติผู้ป่วยก่อน
5.  พบแพทย์ ในเวลาราชการที่แผนกผู้ป่วยนอก นอกเวลาราชการที่ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน เพื่อตรวจและรับคำอธิบายถึงอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ข้อดีข้อเสียของการใช้ยา  AZT  รวมทั้งผลข้างเคียงของยา การใช้ยา AZT ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รับผิดชอบหรือปรึกษาแพทย์อายุรกรรมถ้าพบปัญหาในการให้ยา Anti HIV prophylaxis และการให้ HBV Vaccine หรือ HBIG)

6.   ขณะที่ยังไม่ทราบผลเลือด บุคลากรที่ได้รับอุบัติเหตุควรได้รับคำปรึกษา แนะนำ ปลอบโยน และให้กำลังใจ และบุคลากรผู้นั้นไม่ควรบริจาคเลือด บุคลากรหญิงควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ และใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์หากผู้ป่วยไม่ติดเชื้อเอชไอวี  โดยตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชไอวี  และแอนติเจนของเอชไอวีในกระแสเลือดและผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง  บุคลากรเพียงรายงานการเกิดอุบัติเหตุให้ผู้บังคับบัญชาทราบหากไม่ทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่  หรือผู้ป่วยไม่ยินยอมให้เจาะเลือดตรวจ  บุคลากรที่ได้รับอุบัติเหตุควรได้รับการเจาะเลือด  และติดตามเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของบุคลากร
7.  กรณีบุคลากรไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบบี  และไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน  ควรให้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสรับอักเสบบี  และ  Hepatitis B Immunoglobulin  (HBIG)  ภายใน  7  วัน  หลังสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย กรณีบุคลากรเคยได้รับวัคซีนชนิดนี้มาแล้ว  ควรเจาะเลือดตรวจหา  Anti-HBs  หากระดับภูมิคุ้มกันที่ตรวจพบไม่สูงพอ  ให้ฉีดวัคซีน  1  เข็ม  และ  HBIG  1  เข็ม กรณีผู้ป่วยไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและบุคลากรไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีมาก่อนควรถือโอกาสนี้ให้วัคซีนไปเลย  กรณีไม่ทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่  ควรให้วัคซีนแก่บุคลากรกรณีบุคลากรผู้นั้นไม่เคยได้รับวัคซีน  และกรณีผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ควรให้  HBIG แก่บุคลากร ทั้งนี้ควรพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
8.  บุคลากรที่เกิดอุบัติเหตุเสนอแบบบันทึกกรณีเกิดอุบัติเหตุที่หัวหน้างาน  หัวหน้ากลุ่มงาน เสนอผู้อำนวยการ และพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ    เพื่อการติดตามเจาะเลือดเพื่อตรวจหา Anti HIV ซ้ำเมื่อครบ  ๓ เดือน และ ๖ เดือน หลังจากได้รับอุบัติเหตุ และเขียนใบรายงานที่งานประกันสุขภาพกรณีขอรับเงินชดเชย
9. ในกรณีผลการตรวจเลือดเพื่อหา Anti HIV ครั้งแรกเป็นลบ และผลการตรวจเลือดเพื่อหา Anti HIV ซ้ำ ภายหลังได้รับอุบัติเหตุเป็นบวกให้แจ้งพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อทันที เพื่อดำเนินการแต่งตั้งกรรมการเพื่อพิจารณาว่าผู้ได้รับอุบัติเหตุติดเชื้อ จากการปฏิบัติงานจริง 
        





Flowการปฏิบัติเมื่อได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มหรือสัมผัสสารคัดหลั่งโรงพยาบาลภูเขียว



<!--[if !vml]--> <!--[endif]-->
                   



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น