Phlebitis

แนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลาย อักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ( Phlebitis)

วัตถุประสงค์  เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
นโยบาย
          1. บุคลากรทางการพยาบาลทุกคนปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
          2. หัวหน้าหน่วยบริการพยาบาลที่มีผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในโรงพยาบาล ได้แก่  ผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายทุกราย ส่งเสริม ควบคุมกำกับ การปฏิบัติตามแนวทางฯอย่างต่อเนื่อง
          3. คณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลทำการประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
          4. หน่วยบริการพยาบาลที่มีผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในโรงพยาบาล  มีการเฝ้าระวังการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมาย   บุคลากรทางการพยาบาล

คำจำกัดความ
          แนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล (Phlebitis) หมายถึง ข้อความที่ระบุถึงแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำโรงพยาบาลที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ เพื่อช่วยบุคลากรในการตัดสินใจสำหรับการปฏิบัติเพื่อป้องกันการ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการเครือข่ายพยาบาลป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อจังหวัดชัยภูมิ 

การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หมายถึง การให้สารน้ำ เกลือแร่ สารอาหาร วิตามิน เข้าทางหลอดเลือดดำทั้งส่วนกลางและส่วนปลายแก่ผู้ป่วย เพื่อเป็นแหล่งพลังงานแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้อาหารทางปากได้หรือได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของน้ำและสารน้ำในร่างกายรวมถึงการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือเพื่อเป็นการบริหารยาเข้าทางหลอดเลือดดำ
หลอดเลือดดำอักเสบ ( Phlebitis) หมายถึง การอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณที่ให้สารน้ำ/เลือด/ส่วนประกอบของเลือด และยา มีลักษณะปวด บวม แดง ร้อน คลำเส้นเลือดดำจะได้รอยนูนบริเวณที่แทงเข็ม หรือคลำเส้นเลือดดำได้เป็นเส้นแข็งเหนือตำแหน่งที่แทงเข็มโดยมีการแบ่งระดับความรุนแรงของหลอดเลือดดำอักเสบ แบ่งเป็น 5 ระดับ (Grade) ดังนี้
           Grade 0       ไม่มีอาการ
           Grade 1        แดงบริเวณที่แทงไม่มีอาการปวด
           Grade 2       ปวดบริเวณที่แทง หรือ มีบวม แดง ร่วมด้วย
           Grade 3       ปวดบริเวณที่แทง มี บวม แดง ร่วมกับเส้นเลือดดำได้เส้นแข็ง 1 นิ้วฟุต
           Grade 4       ปวดบริเวณที่แทง มี บวม แดง ร่วมกับเส้นเลือดดำได้เส้นแข็ง > 1 นิ้วฟุต
แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ หมายถึง แบบบันทึกที่คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ใช้ประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ

ผู้รับผิดชอบ 
หัวหน้าหอผู้ป่วย หัวหน้าเวร  ICWN หน้าที่ มอบหมายแผนการรักษา ให้ความรู้ ควบคุม กำกับ ติดตาม การปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด และทบทวนอุบัติการณ์ กรณีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รายงานข้อมูลการเฝ้าระวังประจำเดือน
พยาบาลวิชาชีพ   พยาบาลเทคนิค  หน้าที่ รับมอบหมายการปฏิบัติการพยาบาลด้วยวิธีการที่กำหนดตามขั้นตอน ประเมินความเสี่ยงและเฝ้าระวังผู้ป่วยที่อาจเกิด หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล
          พยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (ICN) หน้าที่ ให้ความรู้ ให้ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลและร่วมหาแนวทางในการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล    โดยวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบตามสูตรดังนี้
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->                      จำนวนครั้งการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ (ระดับ 3 4)    x   1,000
                        จำนวนวันรวมที่ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
                                (  เป้าหมาย  0 : 1,000 วันใส่ IV Catheter )
ตัวชี้วัด
          1. อัตราการปฏิบัติตาม แนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล ของบุคลากร  > ร้อยละ 80
           2. อัตราการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล = 0 / 1,000 วันใส่ IV Catheter

กิจกรรมดำเนินการ
<!--[if !supportLists]-->1.       <!--[endif]-->จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องวางแผนดำเนินงานตามนโยบายขององค์กร
2.   สืบค้นข้อมูล จัดทำแนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์ป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล
3.  นำเสนอผู้บริหารกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล เพื่อพิจารณา เสนอทำประชาพิจารณ์และประกาศใช้
4. นำสู่การปฏิบัติ โดยการ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติ
5.  ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6.  วิเคราะห์ สรุปผลการประเมินและนำไปใช้เพื่อการพัฒนาต่อไป
7.  มีการทบทวนแนวทางฯ ทุก 2 ปี

 แนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกัน
การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

1. การเตรียมก่อนการให้สารน้ำ
            1.1 การเตรียมสารน้ำ โดยตรวจดูชนิดของสารน้ำซึ่งต้องเป็นสารน้ำปราศจากเชื้อ ไม่ใช้สารน้ำที่มีลักษณะขุ่น  ถุงรั่ว  แตก  หรือหมดอายุ  ติดป้ายแสดงชื่อของผู้ป่วย ชนิดของสารน้ำและยาที่ผสม จำนวนหยดที่ให้ วันเวลาที่ให้  (Category IA)
            1.2  เตรียมอุปกรณ์ในการให้สารน้ำ ได้แก่ ชุดให้สารละลาย (IV set), เข็ม( Medicut  )สำลี 70% Alcohol หรือ 2% chlohexidine in alcohol สายยางรัดแขน และพลาสเตอร์ แผ่นฟิล์มใสปราศจากเชื้อ(Tegaderm)หรือก๊อสปราศจากเชื้อ (Category  IA)
      1.3 เตรียมบุคลากรโดยการทำความสะอาดมือและสวมถุงมืออย่างถูกต้อง และเหมาะสม (Category 1 A)

2 การให้สารน้ำ
     2.1 อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ(Category IA)
             2.2 ล้างมือแบบ hygienic hand washing หรือ alcohol hands rub ให้สะอาดก่อนให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำทุกครั้ง (Category IA)
       2.3 เปิดชุดให้สารน้ำที่ปราศจากเชื้อแล้วปิด Roller clamp ต่อชุดให้สารน้ำเข้ากับสารน้ำด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ และไล่สารน้ำให้จนถึงปลายเข็ม (Category IA)
      2.4 ผสมน้ำยาหรือสารน้ำอื่นๆ ตามแผนการรักษาของแพทย์ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ (ถ้ามี) (Category IA)
           2.5 เลือกตำแหน่งที่ต้องการให้สารน้ำควรเลือกหลอดเลือดดำที่มีขนาดเล็กก่อนได้แก่บริเวณหลังมือหรือแขน (Category IA)
               2.6 ใส่ถุงมือสะอาดในการแทงเข็มหลอดเลือดดำ  (Category IA)  
          2.7 ทำความสะอาดผิวหนังก่อนให้สารน้ำด้วยเทคนิคปลอดเชื้อทุกครั้ง โดยเช็ดบริเวณผิวหนังด้วย 70%Alcohol หรือ 2% chlohexidine in alcohol รอจนระเหยแห้ง (Category IA)
            2.8 ใช้หลัก Aseptic   technique ในการแทงเข็มห้ามนิ้วแตะสัมผัสบริเวณผิวหนังหลังทาน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนแทงเข็ม (Category IA)
              2.9 ต่อสายให้สารน้ำกับเข็มโดยใช้หลักปลอดเชื้อ (Category IA)
             2.10 ตรึงสายไว้ไม่ให้  หัก พับ งอ และเลื่อนหลุด (Category II )
           2.11 ตรึงหัวเข็มและปิดบริเวณรอยต่อระหว่างเข็มกับผิวหนังด้วยแผ่นฟิล์มใสปราศจากเชื้อ หรือก๊อสปราศจากเชื้อ
             2.12 บันทึก วัน เวลา แทงเข็มบริเวณด้านบนพลาสเตอร์ที่ปิดทับบริเวณที่แทงเข็มและบันทึกการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ  อัตราการหยด ของสารน้ำ ลงในแบบฟอร์มที่เป็นมาตรฐาน(Category II)
       2.13 กรณีที่ให้ยา ให้ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นข้อต่อและจุกยางให้สารน้ำด้วย 70% Alcoholโดยเช็ดให้แห้งก่อน เติมยาเข้าสายให้สารน้ำทุกครั้ง (Category IA
          2.14 การฉีดยาทางสายให้สารน้ำ ควรฉีดอย่างช้าๆและสังเกตอาการขณะให้ยาว่ามีอาการปวด บวม  มี Blood clot เกิดขึ้นใน IV cath หรือไม่ถ้าพบว่าดันต่อไปไม่ได้ควรรีบถอดสายให้สารน้ำทันที

3. การดูแลผู้ป่วยขณะใส่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
         3.1 ตรวจสอบบริเวณข้อต่อต่างๆของสายให้สารน้ำ และเข็มให้อยู่ในสภาพที่แน่น ไม่หลวมหลุดง่าย มีการสวมปิดข้อต่อต่างๆ ทุกครั้ง (Category IB)
3.2 ควรถอดข้อต่อต่างๆที่ใช้ร่วมกับสารน้ำที่ไม่จำเป็นต้องใช้แล้วออกทันที   (Category IA)
3.3 ตรวจสอบบริเวณที่ให้สารน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยสังเกตอาการบวมแดงและการไหลของสารน้ำเมื่อพบว่ามีอาการบวมแดง ควรมีการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ (Category II)
3.4 ล้างมือและสวมถุงมือสะอาดเมื่อเปลี่ยน Dressing (Category IC)
3.5 เปลี่ยนตำแหน่งที่แทงเข็ม เมื่อเข็มออกนอกหลอดเลือดหรือเมื่อมีการติดเชื้อในตำแหน่งที่แทงเข็ม หรือเกิด Phlebitis หากไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวให้ปล่อยไว้จนครบ 96 ชั่วโมง (Category IB)

4. การเปลี่ยนสารน้ำและชุดให้สารน้ำ
 4.1 การเปลี่ยนชุดสายให้สารน้ำ ให้ระบุวันที่เปลี่ยนสายชุดให้สารน้ำด้วยแถบสี บริเวณกระเปาะ set IV และที่บริเวณตำแหน่งแทง IV ในวันที่ครบเปลี่ยน
 4.2 เปลี่ยนสายให้สารน้ำ ทุก 72 ชั่วโมง กรณีที่ผสมยา KCL เปลี่ยนทุก 24 ชั่วโมง (Category IA)
 4.3 ชุดให้เลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดดูแลเปลี่ยนทุก 4 ชั่วโมง (Category IB)


 มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ดังนี้
มาตรฐานที่1 การบริหารจัดการ และติดตาม กำกับระบบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล  
กิจกรรม 
 1.   กำหนดนโยบายการพยาบาลเพื่อป้องกัน การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล
2. กำหนดกลุ่มผู้ป่วยเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวังการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล ได้แก่ ผู้ป่วยที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานๆ
          3. มอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยคณะกรรมการงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ
4. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน
5. กำหนดการติดตาม ประเมินผลและสรุป วิเคราะห์ข้อมูล เป็นรายเดือน รายปี

มาตรฐานที่ 2 การดำเนินการและติดตาม กำกับระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วย
กิจกรรม
 1.  จัดทำแนวปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยการมีส่วนร่วมและรับรองจากการทำประชาพิจารณ์ นำสู่การปฏิบัติ และการติดตาม ประเมินผลผลการดำเนินงาน
          2. มีระบบการเฝ้าระวังโดยการใช้แบบฟอร์มการรายงานข้อมูลผู้เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล  การทบทวนอุบัติการณ์  และการทบทวนแนวปฏิบัติ
มาตรฐานที่ 3  การสอบสวนและควบคุมการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
กิจกรรม  
1. รับผู้ป่วยในหน่วยบริการพยาบาลในบริเวณใกล้เคียงกัน และดูแลพยาบาล อย่างใกล้ชิด
2.กรณีพบการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ 2 รายขึ้นไป มีการควบคุมการระบาดโดยการทบทวนวิธีปฏิบัติของบุคลากร เน้นการปฏิบัติตามหลักการ Standard precaution
           3. ผู้ปฏิบัติให้ความสำคัญและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด หัวหน้าหน่วยบริการพยาบาล และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ ควบคุม กำกับประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 4 การพัฒนาความรู้ ทักษะและให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่บุคลากรทางการพยาบาล พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลดำเนินการพัฒนาความรู้ทักษะและให้คำแนะนำปรึกษาในการป้องกันและควบคุมการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล แก่บุคลากรทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรม  
1.จัดทำแผนอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับเกี่ยวกับระบาดวิทยา และมาตรการในการควบคุมการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล เพื่อให้บุคลากรมีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ และให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล  
 2. จัดทำแนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล(Phlebitis) รวบรวมตำรา ค้นคว้า เอกสารทางวิชาการ จัดทำแผ่นพับ สำหรับบุคลากรทางการพยาบาลได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3. สนับสนุน จัดทำการประชุมวิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อให้บุคลากรทางการพยาบาล ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประสบการณ์ และพิจารณาเสนอแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการดูแลและป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล
4.สนับสนุนการศึกษาวิจัย และนวัตกรรม เกี่ยวกับการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล   
5. นิเทศ สอนงาน ประเมินความรู้ ทักษะ และให้คำปรึกษา ในการปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวทางฯ
มาตรฐานที่ 5 การดูแลต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายทั้งได้รับได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องป้องกันภาวะเสี่ยงการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ทั้งในสถานพยาบาลและที่บ้าน
แนวทางปฏิบัติ  
          1. ประเมินความต้องการ การดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำและความเสี่ยงที่อาจเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ให้โอกาสและช่องทางกับผู้ป่วยและครอบครัวรับทราบและตัดสินใจทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับการดูแลต่อเนื่อง ทั้งการจำหน่ายกลับบ้าน ส่งต่อ เคลื่อนย้าย ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล
2. อธิบายให้ความรู้ และข้อมูลด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองทุกมิติ การปฏิบัติตนของผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน การใช้หลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐานและการทำความสะอาดมือ       
3. ประสานข้อมูล การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในประเด็นต่างๆ ดังนี้ การวางแผนเตรียมความพร้อมการดูแลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานภายในและภายนอกโรงพยาบาลตามแนวทางที่หน่วยงานกำหนด ข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อและดูแลรักษาพยาบาลของผู้ป่วย เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป การรักษา การวินิจฉัย สาเหตุ การส่งต่อ สิทธิการรักษา การบันทึกข้อมูลส่งต่อ รวมทั้งการติดตามข้อมูลการเฝ้าระวังหลังจำหน่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานที่ 6 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ
กิจกรรม
   ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล คือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด บุคลากรทางการพยาบาลจัดการ ดูแลเรื่องความสะอาดอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม รอบๆ โดยใช้ระบบ 5 ส  ดูแลระบบผ้าสะอาดและผ้าปนเปื้อนตามมาตรฐาน  ส่งเสริมการทำความสะอาดมือโดยมี Alcohol hands rub ที่ปลายเตียงผู้ป่วย หัวหน้าหน่วยบริการพยาบาลควบคุม กำกับ ดูแลอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 7 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ
กิจกรรม  
          1.บุคลากรทางการพยาบาลประเมินความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ป่วยญาติและผู้ดูแลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน จัดโปรแกรมการให้ความรู้  ข้อมูลด้านสุขภาพ  เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเอง
          2. ให้ข้อมูล ความรู้ แก่ผู้ป่วยและครอบครัวตามปัญหาและความเสี่ยง ในประเด็นขั้นตอนการรักษาพยาบาล กิจกรรมทางการแพทย์ และกิจกรรมการพยาบาล คู่มือ ข้อแนะนำ ข้อปฏิบัติการส่งเสริมการดูแลตนเอง สิทธิพึงมีพึงได้จากโรงพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ การใช้สถานที่ สิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก และแหล่งประโยชน์ในโรงพยาบาล  กฎระเบียบของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยและครอบครัว ให้โอกาสซักถามและมีช่องทางการเข้าถึงข้อมูล เช่น เสียงตามสาย  โปสเตอร์  แผ่นพับ เป็นต้น

มาตรฐานที่ 8 การพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วย
กิจกรรม
          1.ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย โดยการให้ข้อมูล บอกกล่าว ยินยอมการรักษา ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยและญาติ การแจ้งชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้บริการ การรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับ การเปิดเผยร่างกาย การจัดสภาพแวดล้อม  
2.ให้บริการด้วยความเสมอภาค ให้เกียรติและความเท่าเทียมกัน คำนึงถึงสิทธิความเป็นมนุษย์และปัจเจกบุคคล

3.อธิบายและชี้แจงให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจก่อนยินยอมหรือรับการรักษาโดยการทำหัตถการหรือการสอดใส่อุปกรณ์  เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัว ได้ซักถามประเด็นสงสัย ตลอดจนการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาพยาบาล ทางเลือกการดูแลรักษา กรณีไม่ยินยอมสมัครใจรักษาบุคลากรทางการพยาบาลให้คำแนะนำการดูแลตนเองทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และความจำเป็นในการกลับเข้ามารักษาในสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยเลือก

 มาตรฐานที่ 9 การบันทึกทางการพยาบาล  
กิจกรรม
แนวทางการบันทึกทางการพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติการณ์หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบให้บันทึกในบันทึกทางการพยาบาลและรายงานการเกิด Phlebitis  ส่งที่กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อเพื่อสื่อสารกับทีมงานและทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นหลักฐานทางกฎหมาย ครอบคลุมประเด็น การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล การให้บริการพยาบาลตามอาการทางคลินิกนำผลการบันทึกทางการพยาบาลพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง



                                                           KPI Template
งานผู้ป่วยใน
การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ  จากการให้สารน้ำ

หัวข้อ
คำอธิบาย

<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]--> ชื่อตัวชี้วัด
การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ จากการให้สารน้ำ

<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->หน่วยวัด
อัตราการเกิด  ( ครั้ง ): 1,000  วันที่คา IV cath

<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->คำอธิบายตัวชี้วัด
(นิยาม / ความหมาย)
<!--[if !supportLists]-->·       <!--[endif]-->หลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis)  หมายถึง  การอักเสบของหลอดเลือดดำ  บริเวณที่ให้สารน้ำ / เลือด / ส่วนประกอบของเลือด  และ ยา  มีลักษณะปวด  บวม  แดง  ร้อน  คลำเส้นเลือดดำจะได้รอยนูนบริเวณที่แทงเข็ม  หรือคลำเส้นเลือดดำได้เป็นเส้นแข็งเหมือนตำแหน่งที่แทงเข็ม  โดยมีการแบ่งระดับความรุนแรงของหลอดเลือดดำอักเสบ  แบ่งเป็น 5 ระดับ (Grade)  ดังนี้
Grade  0    ไม่มีอาการ
Grade  1  แดงบริเวณที่แทงไม่มีอาการปวด
Grade  2  ปวดบริเวณที่แทง  หรือ  มีบวม แดงร่วมด้วย
Grade  3  ปวดบริเวณที่แทง มี บวม  แดง  ร่วมกับเส้นเลือดดำได้เส้น  
                แข็ง ≤ 1  นิ้วฟุต
Grade  4  ปวดบริเวณที่แทง มี บวม แดง ร่วมกับเส้นเลือดดำได้เส้น 
                แข็ง >  1  นิ้วฟุต
<!--[if !supportLists]-->·       <!--[endif]-->แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ  หมายถึง  แบบบันทึกที่คณะกรรมการป้องกัน  และ ควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล  ใช้ประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->สูตรที่ใช้ในการคำนวณ (ตัวตั้ง/ตัวหาร)

   จำนวนครั้งการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบระดับ 3-4 × 1,000
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->   จำนวนวันรวมที่ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย


<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->เกณฑ์การให้คะแนนหรือการแปลผล
ค่าเป้าหมาย
รายละเอียดการดำเนินการ
1
อัตราการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในโรงพยาบาล   
        ≤ 0.5 ต่อ 1,000  วันให้สารน้ำ
2
อัตราการเกิดเท่าเดิม
3
อัตราการเกิดลดลงจากเดิมอย่างน้อยร้อยละ 25
4
อัตราการเกิดลดลงจากเดิมอย่างน้อยร้อยละ 50
5
ไม่มีอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำ


เกณฑ์การให้คะแนน

ระดับที่1
ระดับที่2
ระดับที่3
ระดับที่4
ระดับที่ 5
1
2
3
4
5
<!--[if !supportLists]-->6.      <!--[endif]-->เงื่อนไข หรือข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)

ผู้ป่วยในที่ ON  IV  Catheter  
<!--[if !supportLists]-->7.      <!--[endif]-->รายละเอียดข้อมูลพี้นฐาน (ย้อนหลัง 3 ปี ถ้ามี)

- NA
<!--[if !supportLists]-->8.      <!--[endif]-->วิธีการประเมิน 
แบบเฝ้าระวัง , สังเกต , ใบรายงาน IR
<!--[if !supportLists]-->9.      <!--[endif]-->แหล่งข้อมูล
หอผู้ป่วยใน       โรงพยาบาล……..
                      รพ.แก้งคร้อ , รพ.หนองบัวแดง , รพ.ภูเขียว
                      รพ.จัตุรัส , รพ.บำเหน็จณรงค์ , รพ.เกษตรสมบูรณ์
                      รพ.บ้านแท่น , รพ.คอนสาร , รพ.คอนสวรรค์ , รพ.เนินสง่า
                      รพ.ภักดีชุมพล , รพ.เทพสถิต , รพ.หนองบัวระเหว
                      รพ.บ้านเขว้า

<!--[if !supportLists]-->10.  <!--[endif]-->วิธีการจัดเก็บข้อมูล 
เก็บทุกเวรตามแบบฟอร์มเก็บข้อมูล
<!--[if !supportLists]-->11.  <!--[endif]-->ความถี่ในการเก็บข้อมูล  
เก็บทุกเวร รายงานกลุ่มการพยาบาล , IC และความเสี่ยงทุก 1 เดือน
<!--[if !supportLists]-->12.  <!--[endif]-->. ผู้จัดเก็บข้อมูล 
พยาบาลหัวหน้าเวร

<!--[if !supportLists]-->13.  <!--[endif]-->หน่วยงานที่รับผิดชอบ 
งานผู้ป่วยใน
<!--[if !supportLists]-->14.  <!--[endif]-->ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด 
 หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
<!--[if !supportLists]-->15.  <!--[endif]-->ผู้รวบรวมข้อมูล 
:  ICWN
<!--[if !supportLists]-->16.  <!--[endif]-->แหล่งอ้างอิง 
แนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อป้องกันการเกิด Phlebitis     
  ของเครือข่าย IC จังหวัดชัยภูมิ 2556
:  Matthew C.,B.a.C.M . Prevention of catheter – related blood stream infection . Current opinion in criteria care. 2007.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น